Barcode Printer
Barcode Reader
Mobile Computers
Mobile Printer
Wireless Network
Card Printers
RFID
Care Label Printer
Sticker and Ribbon
Barcode Program
CCTV Camera
Barcode Spare part
 
กลับหน้า News

ประวัติและความเป็นมาของบาร์โค้ด

 

ความคิดในการพัฒนาระบบการเก็บข้อมูล และการอ่านข้อมูลโดยอัตโนมัตินั้นเริ่มขึ้นในปีคริสตศักราช 1932 โดยกลุ่มนักศึกษาที่นำโดย Wallace Flint จากมหาวิทยาลัย Harvard ได้นำเสนอโครงการที่จะให้ใช้บัตรเจาะรูเป็นตัวกำหนดรหัสสินค้า และให้ลูกค้าซื้อสินค้าจากแคตตาล็อก โดยเมื่อนำบัตรตอกมาใส่ลงเครื่องอ่าน ระบบจะสามารถดึงเอาสินค้าชิ้นนั้นออกมาจากห้องเก็บสินค้า พร้อมทั้งออกบิลและตัดสต๊อกโดยอัตโนมัติ

 

ต่อมาในปีคริสตศักราช 1948 Bernard Silver ซึ่งขณะนั้นยังเป็นนักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยี Drexel ในเมืองฟิลาเดลเฟีย สหรัฐอเมริกา เกิดบังเอิญไปได้ยินเจ้าของร้านค้าสินค้าอุปโภคบริโภครายหนึ่งปรึกษากับคณบดีของสถาบันเกี่ยวกับ การวิจัยในเรื่องของวิธีการจัดเก็บและอ่านข้อมูลของสินค้าโดยอัตโนมัติในขณะชำระเงิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับร้านค้า ซึ่ง Bernard ก็ได้นำปัญหานี้มาพิจารณา และเข้าร่วมกับเพื่อนนักศึกษาอย่าง Norman Joseph Woodland ในการที่จะพยายามสร้างระบบเพื่อเป็นคำตอบให้กับปัญหานี้

 

ไอเดียแรกของ Joseph คือการใช้หมึกที่เรืองแสงเมื่อถูกแสงอัลตราไวโอเลท (UV) มาวางให้เป็น Pattern และสร้างอุปกรณ์เฉพาะที่สามารถอ่าน Pattern นั้นได้ ซึ่งทีมงานก็ได้สร้างต้นแบบขึ้นมา แต่ก็ได้ตัดสินใจว่าระบบนี้ไม่มีความเสถียรมากพอ, หมึกจางหายได้ง่ายเกินไป และยังมีค่าใช้จ่ายที่สูง พวกเขาจึงทำการวิจัยต่อในแนวทางอื่น แรงบันดาลใจต่อมาของพวกเขาเกิดมาจากสัญญาณมอส (Morse Code) ซึ่งเขามาตัดสินใจในภายหลังว่าระบบน่าจะทำงานได้ดีกว่าถ้า Pattern ถูกทำขึ้นเป็นวงกลมแทนที่จะเป็นเส้นตรง ซึ่งจะทำให้สามารถอ่านค่าได้จากทุกทิศทาง จนกระทั่งเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ปีคริสตศักราช 1949 ทั้งสองก็ได้ลงนามขอจดสิทธิบัตรผลงานภายใต้ชื่อ Classifying Apparatus and Method ซึ่งต้องใช้เวลาถึงเกือบ 3 ปีในขั้นตอนการอนุมัติ

 

สิทธิบัตรที่เป็นการออกให้กับผลงานสำหรับบาร์โค้ดจริงๆได้ถูกออกให้เป็นครั้งแรกกับผู้ที่ทำการคิดค้นคือ Joseph Woodland และ Bernard Silver เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม ปีคริสตศักราช 1952 โดยในขณะนั้นบาร์โค้ดยังไม่ได้มีลักษณะเป็นแท่งเส้นตรงอย่างที่เราเห็นกันในปัจจุบัน หากแต่มีลักษณะเป็นชุดของวงกลมที่ซ้อนกันขึ้นมาหลายๆชั้น คล้ายกับแผ่นปาเป้า ดังเช่นรูปภาพด้านซ้าย

 

 

หลังจากนั้น Joseph ก็ได้ย้ายไปทำงานให้กับ IBM และพยายามที่จะโน้มน้าวความสนใจให้ IBM พัฒนาระบบต่อ ซึ่งในท้ายที่สุด IBM ก็ได้ยอมรับว่าไอเดียนี้เป็นไอเดียที่น่าสนใจและมีความเป็นไปได้ แต่ในการประมวลผลของผลลัพธ์นั้นจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่จะอาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และ IBM ก็ได้มอบข้อเสนอที่จะขอซื้อสิทธิบัตร แต่ข้อเสนอนั้นก็ไม่มากพอ ทำให้บริษัทอย่าง Philco ได้ซื้อสิทธิบัตรไปแทนในปีคริสตศักราช 1962 และขายต่อให้กับองค์กร RCA ในช่วงเวลาต่อมา

 

Bernard ถึงแก่กรรมในปีคริสตศักราช 1962 ด้วยอายุเพียง 38 ปี ก่อนที่จะได้เห็นการใช้ระบบบาร์โค้ดในร้านค้าจริง

 

ร้านค้าปลีกในเครือ Kroger ที่เมืองซินซินนาติ แห่งมลรัฐโอไฮโอ คือร้านค้าแห่งแรกในโลกที่ได้นำเอาระบบแผ่นบาร์โค้ดแบบปาเป้าไปใช้ในปีคริสตศักราช 1967 และต่อมาได้มีการพัฒนาระบบบาร์โค้ดและประดิษฐ์เครื่องสแกนบาร์โค้ดขึ้น และใช้งานเป็นครั้งแรกในโลกที่ Marsh's ซุปเปอร์มาร์เก็ต ในเดือนมิถุนายน ปีคริสตศักราช 1974 และในวันที่ 26 เดือนนั้นเอง หมากฝรั่ง Wringley's Juicy Fruit ก็กลายเป็นสินค้าชิ้นแรกในโลกที่ถูกสแกนด้วยเครื่องอ่านบาร์โค้ด เพราะมันเป็นสินค้าแรกที่ถูกหยิบขึ้นจากรถเข็นของลูกค้าคนแรกของร้านในวันนั้น

 

ในภายหลัง Joseph นั้นยังได้รับรางวัล National Medal of Technology จากประธานาธิบดี George Bush ในปี 1992 ในฐานะที่เป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยีบาร์โค้ดและสร้างคุณประโยชน์เกี่ยวกับรหัส UPC (Universal Product Code)

 
COPYRIGHT 2011 @ WID.CO.TH ALL RIGHTS RESERVED.